วันนี้ ชวนมาอ่านอุตสาหกรรมที่สำคัญของกลุ่มปัจจัยการผลิต คือ อุตสาหกรรมปุ๋ย (Fertilizer) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญของสินค้าเกษตรเกือบทุกชนิด ว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมปุ๋ยของประเทศไทยเป็นอย่างไรกันครับ
1. ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กลุ่มอุตสาหกรรมปุ๋ย (Fertilizer)
ถ้าผู้อ่านติดตาม sophony.co มาตลอด จะเข้าใจว่าธุรกิจเกษตร มีมากกว่าการผลิตสินค้าเกษตร แต่รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรด้วย (อ่าน ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) คืออะไร)
โดยอุตสาหกรรมปุ๋ย (Fertilizer) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญของ ธุรกิจเกษตรประเภทขายของให้เกษตรกร หรือ ที่เราเรียกอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มปัจจัยการผลิตนั่นเอง

สำหรับประเทศไทย ที่มีจำนวนเกษตรกรประมาณ 10 ล้านคน มีพื้นที่เกษตรกรรมเกือบ 50% ของประเทศ หรือประมาณ 150 ล้านไร่ ธุรกิจเกษตรที่ขายของให้เกษตรกร จึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากครับ
อุตสาหกรรมปุ๋ยปุ๋ย (Fertilizer) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหญ่ของธุรกิจเกษตรประเภทนี้ครับ ยิ่งปุ๋ยเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องใช้ ช่วยเพิ่มผลผลิต ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต ยิ่งทำให้ธุรกิจปุ๋ยยิ่งน่าสนใจ มาดูกันครับ ว่าอุตสาหกรรมปุ๋ยไทยในภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง
2. อุตสาหกรรมปุ๋ย (Fertilizer) ในประเทศไทย
เราอาจแบ่งตลาดปุ๋ยออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ปุ๋ยเคมี กับ ปุ๋ยอินทรีย์ โดยขนาดตลาดของปุ๋ยเคมี กินขาด ปุ๋ยอินทรีย์ แบบ 10 ต่อ 1 เลยครับ
ปุ๋ยเคมี
ตลาดปุ๋ยเคมีในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 70,000 – 80,000 ล้านบาทต่อปี ไทยใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยประมาณ 5 – 6 ล้านตันต่อปี ซึ่งวัตถุดิบเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีก็ผันผวนตามราคาโลกครับ เช่น ตอนสงคราม รัสเซีย – ยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาปุ๋ยแพงขึ้นมาก เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ผลิตปุ๋ยมาจากละแวกนั้น เป็นต้น
ตลาดปุ๋ยเคมีในไทย มีผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่กี่เจ้าครับ เช่น ไทยเซ็นทรัลเคมี / CP ปุ๋ยเคมี / ปุ๋ยยารา / NFC เป็นต้น ซึ่งเจ้าใหญ่ๆ เหล่านี้ ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 60 – 70 % เลยทีเดียว
ปุ๋ยอินทรีย์
ด้านปุ๋ยอินทรีย์ ตลาดมีมูลค่าประมาณ 5,000 – 7,000 ล้านบาทต่อปี (น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์เกือบ 10 เท่า) แต่ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยประมาณ 10 – 15% ต่อปี เพราะเทรนอินทรีย์กำลังมา ผู้บริโภคก็อยากได้สินค้าอินทรีย์ ภาครัฐก็สนับสนุน ไหนจะเทรน ESG เทรนรักโลกต่างๆ ที่เติบโตตลอด แถมสินค้าเกษตรอินทรีย์ ยังสร้าง Value ได้มากกว่าสินค้าเกษตรแบบทั่วไปด้วย ทำให้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องครับ
ผู้ประกอบการปุ๋ยอินทรีย์มีหลายราย รายใหญ่ๆ ก็เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ตรากระต่าย (บ.อดัมส์) / บ.ปุ๋ยตราคนยืน เป็นต้น และยังมีรายย่อยๆ หรือกลุ่มวิสาหกิจต่างๆ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นอีกจำนวนมาก แต่ขนาดของบริษัทก็ใหญ่สู้บริษัทปุ๋ยเคมีระดับโลกไม่ได้ครับ
3. ปุ๋ย (Fertilizer) มาจากไหน
ทีนี้ ถ้าเรามาเน้นดูด้านปุ๋ยเคมี ที่ใช้เป็นปุ๋ยหลักในประเทศไทย จะพบว่าการผลิตมีดังนี้ครับ

การนำเข้าปุ๋ยและวัตถุดิบ
ไทยเป็นประเทศนำเข้าปุ๋ยเคมี และ วัตถุดิบเพื่อผลิตปุ๋ยเคมี จากต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีมูลค่าการนำเข้ารวมประมาณ 40,000 – 50,000 ล้านบาทต่อปี หรือ เกือบ 70 – 80% ของปริมาณการใช้ต่อปีทีเดียว
โดยมาเรานำเข้าปุ๋ยสำเร็จรูป และวัตถุดิบผลิตปุ๋ย เช่น ยูเรีย ฟอสเฟต โพแทส จากประเทศ จีน, รัสเซีย, ซาอุดิอาระเบีย, แคนาดา ครับ ซึ่งราคาก็ขึ้นๆ ลงๆ ตามราคาตลาดโลก ราคาพลังงาน ทำให้ต้นทุนของปุ๋ยเคมีก็มีความไม่แน่นอนไปด้วย
การส่งออกปุ๋ยและวัตถุดิบ
แต่ ช้าก่อน ไทยเราก็ส่งออกปุ๋ยด้วยนะ ปีนึงส่งออกปุ๋ยมูลค่าประมาณ 8,000 – 10,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกปุ๋ยเคมีสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ไปประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, เวียดนาม) แถวๆ นี้แหละครับ
4. โอกาสในธุรกิจปุ๋ย (Fertilizer business opportunity)
เอาละครับ เมื่อตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมปุ๋ยไทยเป็นแบบนี้ แล้วเรามีโอกาสธุรกิจทำธุรกิจปุ๋ยอะไรที่น่าสนใจบ้างไหม โดยพูดเป็นภาพรวมๆ ทั้งปุ๋ยเคมีและอินทรีย์นะครับ
ปุ๋ยเฉพาะทาง (Specialty Fertilizers)
ธุรกิจปุ๋ยเฉพาะทาง เฉพาะพืช เลยครับ เช่น จะปลูกมะม่วงสูตรพรีเมี่ยมส่งออก ต้องใช้ปุ๋ยอะไร ใส่ช่วงไหน ใส่ยังไง ที่จะช่วยให้มะม่วงออกผลได้คุณภาพดีขึ้น รสชาติดีขึ้น เก็บได้นานขึ้น เป็นต้น โดยพัฒนาเป็นสูตรเฉพาะเลย ยิ่งถ้าเป็นปุ๋ย custom-made เฉพาะลักษณะดินเฉพาะของแต่ละฟาร์มด้วย ยิ่งช่วยให้ธุรกิจยิ่งน่าสนใจขึ้น
ปุ๋ยละลายช้า (Slow-Release Fertilizers)
ถ้านึกไม่ออก ก็นึกถึงปุ๋ยเม็ดเล็กๆ ที่เราเอามาใส่ในกระถางต้นไม้ที่บ้าน แต่เราผลิตเป็นระดับฟาร์มขาย แบบใส่ทีเดียว ค่อยๆ ละลายจนอยู่ได้ฤดูการปลูก ทำให้ลดต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าแรงงานที่จ้างมาใส่ปุ๋ย เป็นต้น
ปุ๋ยแบบแม่นยำ (Precision Fertilizer Management)
เกี่ยวโยงจากธุรกิจแบบแรก (custom-made) ครับ คือ มีการบริการวิเคราะห์ดิน ผ่านระบบ smart sensor ต่างๆ แล้วใส่สูตรเฉพาะสำหรับฟาร์มนั้นๆ เลย หากลดต้นทุนค่าปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้ชัดเจน ธุรกิจมีทางไปแน่นอนครับ
ปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐาน
ปุ๋ยอินทรีย์โดยมากเป็นการทำกันเองในชุมชน หากเราทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ของเราได้คุณภาพ มีสัดส่วนปริมาณแร่ธาตุที่เป็นมาตรฐานทุกถุง มีสารอาหารครบถ้วนจริง และได้มาตรฐานนานาชาติ เช่น IFOAM จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ
ปุ๋ยอินทรีย์แบบ Bio-organic
เป็นการเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่างๆ เข้าไปในปุ๋ยด้วย ซึ่งการใส่จุลินทรีย์จะช่วยให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยให้พืชดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ควบคุมเชื้อโรคได้ด้วย ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนได้ เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น
ปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเหลือใช้
เป็นการนำขยะ (waste) จากอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กากน้ำตาล กากของเสียต่างๆ อาหารเหลือ มาเพิ่มมูลค่าโดยผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ โดยเรายังสามารถนำธุรกิจไปเกี่ยวเนื่องกับ carbon credit ได้อีกด้วย
5. ข้อกังวลของปุ๋ยในประเทศไทย
ถ้ามีสงครามโลกหรือสงครามการค้า (ที่ตอนนี้ก็มีไปแล้ว) จนส่งออกนำเข้าหายไปหมด ถ้าเรามองเผินๆ เราก็คงคิดว่าไทยเรารอดแน่ แต่จริงๆ แล้ว หนึ่งในสาเหตุที่เราจะไม่รอดก็เพราะปุ๋ยนี่แหละครับ เพราะ
- ไทยยังพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศอยู่
- จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนเคมีทั้งหมด เราก็ผลิตไม่พอใช้นะ
- ปุ๋ยอินทรีย์ก็ไม่ค่อยมีมาตรฐาน บางถุงมีสารครบ บางถุงมีสารขาด
- พอไม่มีปุ๋ยเคมี หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบตามมีตามเกิดจากข้อข้างต้น ผลผลิตก็ลดลง คุณภาพก็ลดลง จากที่เคยผลิตเหลือส่งออก อาจจะแค่กินเองในไทยไม่พอก็ได้
- ถึงไม่มีสงครามอะไร พอเราต้องนำเข้าปุ๋ยเคมี ราคามันก็ผันผวนมากอยู่แล้ว ไหนจะสงคราม ไหนจะอัตราแลกเปลี่ยน ไหนจะการแข่งขันต่างๆ ทำให้การควบคุมต้นทุนของเกษตรกรยากตามไปด้วยครับ
ธุรกิจปุ๋ย จึงเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของ Value Chain ธุรกิจเกษตรไทย ในสินค้าเกษตรแทบทุกชนิดเลยครับ ส่วนจะแก้ไขกันอย่างไร ก็คงต้องช่วยการพัฒนาให้เราสามารถผลิตปุ๋ยได้ด้วยตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงให้ต่ำลงที่สุดครับ
5. สรุป
ธุรกิจปุ๋ยในไทยน่าสนใจนะ โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) เพราะยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่มาก เป็นเทรนของโลกปัจจุบันทั้งด้าน demand จากผู้บริโภค และการสนับสนุนจากภาครัฐ บวกกับความเสี่ยงในปัจจุบันของปุ๋ยเคมีที่เราพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศค่อนข้างสูง การทำธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์ จึงเป็นหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบันครับ
636363636363636363636363
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านทุกคนมาก ถ้าอยากอ่านเรื่อง ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) รวมไปถึงการออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) และนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) ให้กับธุรกิจเกษตรและธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ
หากผู้อ่านอยากรู้เรื่อง ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ
บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Link
Agribusiness
Agribusiness Series
- ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) คืออะไร
- เกษตรกรรม (Agriculture) คืออะไร
- ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กับ เกษตรกรรม (Agriculture) ต่างกันอย่างไร
- ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) แบบเกษตรกรรม (Agriculture) มีกี่ประเภท
- ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) แบบเกษตรกรรม (Agriculture) มีกี่ประเภท แบบเจาะลึก
- ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) รู้จักอุตสาหกรรมปุ๋ย (Fertilizer)
Agribusiness x Business Model Series
- โมเดลธุรกิจของธุรกิจเกษตร (Agribusiness Business Model)
- โมเดลธุรกิจเกษตร (Agribusiness Business Model): ขายเกษตรกร
- โมเดลธุรกิจเกษตรแบบเกษตรกรรม (Agricultural Business Model)
- โมเดลธุรกิจเกษตร (Agribusiness Business Model): ซื้อจากเกษตรกร
Agribusiness x Food Series
ปล. บทความนี้ใช้ AI ในการช่วยเขียนและหาข้อมูลส่วนหนึ่งนะ หากอยากได้ข้อมูลของอุตสาหกรรมปุ๋ยเพิ่ม แนะนำให้อ่านจากแหล่งเหล่านี้ครับ
Leave a Reply