Author: โสภณ แย้มกลิ่น (Sophon Yamklin)
-
ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships) คืออะไร
by
— last updated:
first published:
เวลาเขียน Business Model จุดหนึ่งที่คนสับสนมาก คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships) หรือเรียกย่อๆ ว่า CR ว่าจริงๆ แล้ว Customer Relationships คืออะไร ควรเขียนใน Business Model อย่างไร ใช่อันเดียวกับ Customer Relationships ในทางการตลาดไหม วันนี่มาทำความรู้จักกับ Customer Relationships กันครับ 1. Customer Relationships คืออะไร โดยนิยามแล้ว การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships) คือ การอธิบายว่า ธุรกิจมีปฏิสัมพันธ์ (interactions) กับลูกค้าอย่างไร เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดี อยู่กับธุรกิจเราไปนานๆ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships) คือ การอธิบายว่า ธุรกิจมีปฏิสัมพันธ์ (interactions) กับลูกค้าอย่างไร เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดี อยู่กับธุรกิจเรานานๆ โสภณ แย้มกลิ่น…
-
Forward Integration คืออะไร
by
— last updated:
first published:
หนึ่งในกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย (สำหรับคนที่มีเงิน) ก็คือ Forward Integration แปลเป็นภาษาไทยว่า “การขยายตัวไปข้างหน้า” หรือ “การรวมตัวไปข้างหน้า” วันนี้ชวนมาทำความรู้จัก Forward Integration ว่าคืออะไร และมีใช้ธุรกิจเกษตรและอาหารกันบ้างไหม 1. Forward Integration คืออะไร Forward Integration หมายถึง การที่ธุรกิจเรา ขยายตัวไปทำธุรกิจที่ลูกค้าของเราทำเสียเอง หรือ ขยายตัวไปทำธุรกิจของลูกค้า พูดง่ายๆ ก็คือ เราไปแข่งกับลูกค้าตัวเองนั่นเอง Forward Integration คือ การที่ธุรกิจเรา ขยายตัวไปทำธุรกิจของลูกค้า โสภณ แย้มกลิ่น ตัวอย่างเช่น เราทำธุรกิจเลี้ยงหมู เคยส่งเนื้อหมูให้ร้านข้าวขาหมู พอเราร้านข้าวขาหมูเค้าสั่งหมูเราทีละเยอะๆ เราเลยคิดว่า อ่าว งั้นเปิดร้านข้าวขาหมูแข่งกับเค้าเลยดีกว่า เป็นต้น 2. ข้อดีของ Forward Integration Forward Integration ถ้าเราสามารถทำได้ หรือ มีความสามารถจะทำได้…
-
Farm to Table Business Model คืออะไร
by
— last updated:
first published:
ธุรกิจอาหาร (Food Business) รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร (Restaurant Business) ถือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเกษตร (Agribusiness) วันนี้จึงมาแนะนำโมเดลธุรกิจ “Farm to Table Business Model” หรือ “โมเดลธุรกิจจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร” ว่าคืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไรครับ 1. Farm to Table Business Model คืออะไร Farm to Table Business Model ถ้าแปลตรงตัว ก็คือ “โมเดลธุรกิจ จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร” โดยหัวใจหลักของโมเดลธุรกิจแบบนี้ คือ การทำให้เส้นทางจากผู้ผลิต (ฟาร์ม) มาสู่โต๊ะอาหาร (โดยมากเป็นร้านอาหาร) ให้สั้นที่สุด ผ่านคนกลางน้อยที่สุด โดยผู้ผลิตระดับฟาร์ม จะเป็นเกษตรกรที่ผลิตเอง เช่น เลี้ยงกุ้ง ปลูกผักชี เลี้ยงไก่ หรือ เป็นชาวประมงที่ออกไปจับปลาในทะเล เป็นต้น ส่วนผู้บริโภค เวลาพูดถึง Farm to…
-
โมเดลธุรกิจเกษตร (Agribusiness Business Model) ที่ซื้อของจากเกษตรกร
by
— last updated:
first published:
หลังจากได้อ่าน Business Model ของธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กลุ่มแรก คือ Business Model ที่มีเกษตรกรเป็นลูกค้า และ ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กลุ่มสอง คือ โมเดลธุรกิจเกษตรแบบเกษตรกรรม (Agricultural Business Model) ไปแล้ว วันนี้มาทำความรู้จักธุรกิจเกษตรกลุ่มที่ 3 คือ เราซื้อบางอย่างมาจากเกษตรกร แล้วเอาไปทำธุรกิจต่อ ว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง และมี Business Model ในรูปแบบใดบ้าง 1. ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กลุ่มซื้อของจากเกษตรกร คืออะไร ก่อนอื่น แนะนำให้อ่านเรื่องธุรกิจเกษตร (Agribusiness) คืออะไร จากบทความ ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) คืออะไร และ บทความเรื่อง โมเดลธุรกิจของธุรกิจเกษตร (Agribusiness Business Model) ของธุรกิจเกษตร ก่อนนะ โดยผู้เขียน ได้แบ่งธุรกิจเกษตรออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะของโมเดลธุรกิจ (Business…
-
ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กับ เกษตรกรรม (Agriculture) ต่างกันอย่างไร
by
— last updated:
first published:
ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กับ เกษตรกรรม (Agriculture) คือเรื่องเดียวกัน หรือ คนละเรื่องกัน ใช้แทนกันได้ไหม แล้วถ้าเราทำสวน เลี้ยงหมู นี่เรียกว่าเกษตรกรรม หรือ เรียกว่า ธุรกิจเกษตร วันนี้มาทำความรู้จักคำ 2 ที่ใกล้เคียงกันครับ 1. เกษตรกรรม (Agriculture) คืออะไร เกษตรกรรม (Agriculture) คือ “การใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่างๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมง และการป่าไม้” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เกษตรกรรม (Agriculture) คือ “การใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่างๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมง และการป่าไม้” ผู้ทำเกษตรกรรม เราเรียกว่า “เกษตรกร” ดังนั้น ถ้าเราทำกิจกรรมทั้ง 4 อย่างที่ว่า เช่น เราปลูกพริกขาย เราเลี้ยงไก่ ฯลฯ เราก็เป็นเกษตรกร และ เราก็ทำเกษตรกรรม ครับ เรื่องเกษตรกรรม (Agriculture) ผู้เขียนได้เขียนบันทึกแยกไว้แล้ว…
-
โมเดลธุรกิจเกษตรแบบเกษตรกรรม (Agricultural Business Model)
by
— last updated:
first published:
หลังจากได้อ่าน Business Model ของธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กลุ่มแรก คือ Business Model ที่มีเกษตรกรเป็นลูกค้า ไปแล้ว วันนี้มาทำความรู้จักธุรกิจเกษตรกลุ่มที่สองกันต่อ คือ การทำธุรกิจเกษตรด้วยการเป็นเกษตรกร หรือ การทำเกษตรกรรม (Agriculture) นั่นเอง ว่ามีอะไรบ้าง และมี Business Model ในรูปแบบใดได้บ้าง 1. ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) กลุ่มเกษตรกรรม (Agriculture) คืออะไร ผู้เขียนได้แบ่งธุรกิจเกษตรออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะของโมเดลธุรกิจ (Business Model) คือ ดังนั้น ธุรกิจเกษตรในกลุ่มที่ 2 นี้ ก็คือ “ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตรในระดับฟาร์ม” หรือ พูดเป็นภาษาง่ายๆ ที่เราเข้าใจ ก็คือ การทำเกษตรกรรม (Agriculture) ด้วยการเป็นเกษตรกรนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชต่างๆ เช่น พืชสวน พืชไร่ หรือ การเลี้ยงสัตว์…