New S Curve คืออะไร

by

— last updated:

first published:

New S Curve คืออะไร

หลังจากบันทึกก่อนเราได้รู้จักว่า S Curve คืออะไร ไปแล้ว วันนี้มาอ่านต่อว่า New S Curve คืออะไร เกี่ยวข้องกับ Business Model Innovation รวมถึงการมองอนาคต (Strategic Foresight) ถือว่าเป็นภาคต่อของ S Curve แล้วกันครับ

1. The New S Curve คืออะไร

บันทึกก่อนเราทราบแล้วว่า S Curve คือ กราฟที่ใช้แสดงการเติบโตของธุรกิจ หรือการเติบโตของอุตสาหกรรม ในแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ (early phase) ไปจนถึงช่วงสิ้นสุด (end of life) (แนะนำให้อ่านบันทึก S Curve คืออะไร ก่อน)

ทีนี้ ถ้าเรารู้ว่า ตายแล้ว! สินค้าและบริการที่เราขายอยู่ หรืออุตสาหกรรมที่เราเป็นหนึ่งในผู้เล่น กำลังจะก้าวไปสู่จุดอิ่มตัว ก้าวไปสู่จุดถดถอย หรือ กำลังจะตาย คนจะเลิกใช้กันหมดแล้ว เราจะงอมืองอเท้าปล่อยให้ธุรกิจเราเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาหรือ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ถ้าธุรกิจเราผลิตหลอดไฟตะเกียบ แต่โลกเค้ากำลังเปลี่ยนไปใช้หลอด LED ต่อให้เราเก่งแค่ไหน ก็อยู่รอดยาก หรืออีกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราผลิตแผ่น CD-R เราก็ต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะสมัยนี้เขาไม่เขียนแผ่น CD-R กันแล้ว เป็นต้น

นั่นแหละครับ จึงเป็นที่มาของคำว่า New S Curve คือ การที่เราหาธุรกิจใหม่ หรือ อุตสาหกรรมใหม่ เพื่อมาทดแทนธุรกิจเดิมที่กำลังจะถดถอยครับ

New S Curve คือ ธุรกิจใหม่ หรือ อุตสาหกรรมใหม่ ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต หรือ ธุรกิจใหม่ หรือ อุตสาหกรรมใหม่ ที่จะมาทดแทนธุรกิจเดิม

by โสภณ แย้มกลิ่น

2. New S Curve มีกี่ระดับ

New S Curve มีได้ในหลายแบบ แบ่งเป็นดังนี้ครับ

  1. New S Curve ระดับอุตสาหกรรม
  2. New S Curve ระดับธุรกิจ
  3. New S Curve ระดับบุคคล

แต่ละระดับมีความเชื่อมโยงกัน โดยบันทึกนี้ มาทำความรู้จัก The New S Curve ระดับอุตสาหกรรม ก่อนครับ

3. อุตสาหกรรม New S Curve คืออะไร

New S Curve ในระดับอุตสาหกรรม คือ การวิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมไหน กำลังเข้าสู่ช่วงถดถอย กำลังจะตาย และ อุตสาหกรรมไหน กำลังจะเกิด ที่เรียกว่า The New S Curve นั่นเอง

ในระดับนี้ โดยมากคนศึกษาจะเป็นหน่วยงานระดับประเทศ เพื่อศึกษาว่าอุตสาหกรรมที่ประเทศทำอยู่หลักๆ กำลังจะตายไหม ถ้าอุตสาหกรรมที่ประเทศเชี่ยวชาญกำลังจะตาย จะเกิดผลกระทบหลายเรื่อง เช่น ศักยภาพการแข่งขันของประเทศลดลง การว่างงานของแรงงานในประเทศ การลดลงของ GDP ฯลฯ

นอกจากนี้ คนศึกษาจะคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมไหนจะเกิด กำลังจะมา หรือควรสนับสนุนให้เกิด เพราะมองว่า จะเป็นอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้ในอนาคต

สำหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แนะนำอุตสาหกรรม New S Curve ของประเทศไทยไว้หลักๆ ดังนี้ครับ

4. อุตสาหกรรม New S Curve ของประเทศไทย มีอะไรบ้าง

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้วางกรอบแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรม New S Curve ของประเทศไทยไว้ โดยได้ออกรายงาน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ไว้ตั้งแต่ปี 2559 ครับ

กระทรวงได้แบ่ง New S Curve ของประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่ม แต่เน้นส่งเสริมใน 2 กลุ่มหลัก ดังนี้ครับ

กลุ่ม First S Curve

อุตสาหกรรม New S Curve แบบต่อยอดจาก S curve อันเดิมที่เราทำอยู่แล้วให้ใหม่ขึ้น ตอบโจทย์กับสังคมโลกได้ดีขึ้น
อุตสาหกรรม New S Curve แบบต่อยอดจาก S curve อันเดิมที่เราทำอยู่แล้วให้ใหม่ขึ้น ตอบโจทย์กับสังคมโลกได้ดีขึ้น

อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ คือ เราทำอยู่ และเราทำเก่ง แต่ที่ทำมาเริ่มอึนๆ ใกล้อิ่มตัวแล้ว หรือกำลังจะ decline ถ้าเราเพิ่มนวัตกรรมเข้าไป เราไปต่อได้ครับ อุตสาหกรรมกลุ่ม First S Curve ประกอบด้วย

  1. ยานยนต์สมัยใหม่
  2. อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

จะเห็นว่าอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เรามีพื้นฐานอยู่แล้ว เช่น รถยนต์ก็ผลิตในประเทศอยู่แล้ว พวกอิเล็กทรอนิกส์เราก็เก่ง ท่องเที่ยวเราก็เป็นเทพมานาน เช่นเดียวกับกลุ่มเกษตรและการแปรรูปอาหาร ที่เราเป็นผู้นำของโลก

แต่อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ สิ่งที่เราเชี่ยวชาญมันอิงอยู่บนเทคโนโลยีเดิม เช่น รถยนต์เราก็เก่งเรื่องรถน้ำมัน แต่เทรนรถ EV กำลังมา หรือพวกอิเล็กทรอนิกส์เราก็เก่ง Hard Disk แบบจานหมุน (HDD) แต่โลกเค้าไปใช้แบบ Solid State (SSD) กันแล้ว เป็นต้น

ดังนั้น อุตสาหกรรมส่วน First S Curve นี้ เราต้องการนวัตกรรมใหม่ในทุก ด้าน ไม่ว่าจะเป็น Product innovation, Service innovation หรือ Business Model Innovation เพื่อมาต่อยอดให้เกิด S Curve ใหม่ก่อนที่อันเดิมเราจะไปต่อไม่ได้

เพราะถ้าเราไม่ทำอะไร เราก็จะเจ๊งระดับประเทศเหมือนตัวอย่างด้านบนเรื่องแผ่น CD ครับ

ในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีรายละเอียดยิบย่อยไปอีก หาอ่านได้จากเอกสารอ้างอิงด้านล่างบทความได้เลย

กลุ่ม New S Curve

อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ คือ อุตสาหกรรมที่เรายังไม่เชี่ยวชาญ ไม่เก่ง สู้คนอื่นไม่ได้ แต่เทรนอุตสาหกรรมเหล่านี้มันกำลังจะมา แล้วถ้าเราไม่นับ 1 ตอนนี้ จะนับ 1 ตอนไหน งั้นก็เริ่มสนับสนุนเดี๋ยวนี้เลยแล้วกัน ประมาณนี้

อุตสาหกรรมกลุ่ม New S Curve แบบสร้างกันขึ้นมาใหม่เลย เพราะมันกำลังจะบูม!
อุตสาหกรรมกลุ่ม New S Curve แบบสร้างกันขึ้นมาใหม่เลย เพราะมันกำลังจะบูม!

อุตสาหกรรมกลุ่มนี้ มี 5 กลุ่ม คือ

  1. หุ่นยนต์ (Robotics)
  2. การบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics)
  3. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels & Biochemical)
  4. ดิจิตอล (Digital)
  5. การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

จะเห็นว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้เราไม่ได้เชี่ยวชาญนัก เมื่อเทียบกับกลุ่มแรก แต่เป็นเทรนที่จะเติบโตในอนาคต จึงควรส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในประเทศ การให้ทุนวิจัยของประเทศ การสนับสนุนด้านต่างๆ ให้กับภาคเอกชน จึงควรเน้นในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้นี้เป็นหลักครับ

5. สรุป

New S Curve คืออุตสาหกรรมใหม่ที่จะเติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะต่อยอดจากของเดิม หรือพัฒนาใหม่ขึ้นมา โดยประเทศไทยมีการสนับสนุนอุตสาหกรรม New S Curve ไว้ 10 กลุ่มตามที่ได้เล่าไปครับ

ส่วนการได้มาของ New S Curve รวมถึง New S Curve ในระดับอื่นๆ รวมไปถึงความเกี่ยวข้องกับ Business Model Innovation ไว้ต่อกันภาคต่อไปนะครับ

63636363636363636363636363

อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านมากครับ เรื่อง The New S Curve เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง Business Model Innovation ซึ่งยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจกว่านี้อีกมาก ถ้าอยากอ่านเรื่องอื่นเกี่ยวกับ Value Proposition Design และ Business Model รวมถึงเรื่อง Strategy เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ 

หากผู้อ่านอยากรู้เรื่อง Strategy แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ Workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ


บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) สามารถอ่านเรื่องอื่นในซีรีย์เพิ่มเติมได้จาก link


  1. นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร
  2. S Curve คืออะไร
  3. The New S Curve คืออะไร
  4. Innovation Adoption คืออะไร
  5. นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Innovation) คืออะไร
  6. นวัตกรรมเพื่อต่อยอด (Sustaining Innovation) คืออะไร
  7. นวัตกรรมเพื่อธุรกิจใหม่ (Transformative Innovation) คืออะไร
  1. Business Model คืออะไร
  2. Business Model คืออะไร: Alex Osterwalder Masterclass in Thailand
  3. Business Model Canvas คืออะไร
  4. Business Model กับ Business Plan ต่างกันอย่างไร
  5. กลุ่มลูกค้า (Customer Segments) คืออะไร
  6. ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships) คืออะไร
  7. ทรัพยากรหลัก (Key Resources) คืออะไร
  8. กระแสรายได้ (Revenue Streams) คืออะไร
  1. Business Model Innovation คืออะไร
  2. Business Model Innovation มีกี่แบบ
  3. Business Model Shift คืออะไร
  4. กลุ่มลูกค้าย่อย (Customer Micro Segmentation) คืออะไร
  5. โมเดลธุรกิจขยายตัว (Scalable Business Model) คืออะไร
  6. Unfair Advantage คืออะไร
  1. แผนธุรกิจ (Business Plan) คืออะไร

โสภณ แย้มกลิ่น (Sophon Yamklin) Avatar

References:


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *