ถ้าผู้อ่านใช้ Value Proposition Design และ Design Thinking ในการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือเราอาจ “ติด” กระบวนการคิดจาก Design Thinking และทำให้กระบวนคิดเรื่องต่างๆ เปลี่ยนแปลงจากแต่ก่อน ลองดูว่า Design Thinking Mindset จะมีลักษณะอย่างไรครับ
1. คุณจะไม่ตัดสินอะไรจากมุมมองของคุณ (ถ้าคุณไม่ใช่ user)
เวลาเราได้ฟังโปรเจคที่คนอื่นมาเสนอ หรือเราได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินโครงการต่างๆ เราจะไม่ฟันธงว่า “โครงการนี้ปังแน่” หรือ “โปรเจคนี้ไม่น่าไหวหรอก” เพราะเราเชื่อว่าคนที่จะตัดสินใจว่าสิ่งนี้จะ “ปังแน่” หรือ “เจ๊งแน่” ไม่ใช่ “เรา” แต่เป็น “ผู้ใช้ (user)” ต่างหาก
เวลาเราให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ เราจึงมักแค่ถามว่า “ได้ไปถามผู้ใช้ (user) มาหรือยัง” “เขาว่าอย่างไร” หรือเราจะถามเพื่อตรวจสอบว่า โครงการนี้เจ้าของโครงการคิดเอาเองว่าลูกค้าต้องชอบ โดยไม่ไปทำความเข้าใจลูกค้าก่อนหรือเปล่า เช่น “ได้ไปทดสอบกับผู้ใช้หรือยัง ว่าเขาคิดอย่างที่เราคิดจริงไหม” ฯลฯ
ดังนั้น เวลาเชิญคนที่มี Design Thinking Mindset ไปเป็นกรรมการ เขาอาจให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาโครงการได้ ว่าทำมาถูกขั้นตอนไหม หรือ ให้ข้อเสนอแนะว่าวิเคราะห์สิ่งต่างๆ มาครบถ้วนไหม
แต่เขามักไม่ฟันธง ว่าโครงการจะ สำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จ นะ
ดังนั้น ถ้าจะเชิญคนที่มี Design Thinking Mindset ไปเป็นกรรมการฟันธงเพื่อตัดสินโครงการ อาจจะไม่ถูกใจคนเชิญเท่าไหร่ เพราะ กรรมการแนวนี้จะไม่ค่อยยอมฟันธงครับ
2. คุณจะไม่มั่นใจ project ของคุณ ถ้าคุณยังไม่ได้ทดสอบกับผู้ใช้
เราจะติดนิสัยการ “ทดสอบและเรียนรู้” (test and learn) กับผู้ใช้เวลาเราต้องการพัฒนาโครงการต่างๆ
และ เวลาที่เราต้องพัฒนาโครงการอะไรที่ไม่ได้ทำความเข้าใจผู้ใช้มาก่อน เราจะรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจ ว่าโครงการจะสำเร็จหรือไม่ (เว้นแต่เราเป็นผู้ใช้เอง)
เราจะไม่พัฒนาโครงการอะไรใหม่ๆ โดยการคิดแทนผู้ใช้ และแม้โครงการที่เราเป็นหนึ่งในผู้ใช้ เราก็ยังรู้สึกว่า ต้องไปทำความเข้าใจคนอื่น (empathy) เพิ่มด้วย เพื่อให้ได้มุมมองเพิ่มเติม
นอกจากนี้ เรายังคุ้นชินกับการให้ผู้ใช้ (user) มีส่วนร่วมกับโครงการอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่คุยกับเขาแค่ตอนแรก แล้วมาอีกที ก็เป็น Final Project เลย
3. คุณจะเข้าใจมนุษย์มากขึ้น
เรา “เหมือนจะ” เข้าใจเหตุผลว่าคนนี้ทำอะไร เพื่ออะไร ในมุมมองที่เป็นเป็นกลางมากขึ้น คือเข้าใจเขาจาก “มุมมองของเขาจริงๆ” ไม่ใช่เข้าใจเขา จาก “มุมมองของเรา”
มุมมองของเขาเป็นอย่างไร ?
มุมมองของเขา คือ ถ้าโตมาแบบเขา มีครอบครัวแบบเขา ได้รับการสอนมาแบบเขา ได้รับสื่อแบบเขา มีเพื่อนแบบเขา ใช้ชีวิตแบบเขา ได้รับแรงกดดันแบบเขา โดนตั้ง KPI แบบเขา มี OKRs แบบเขา แล้วเขาจะทำอย่างไร เขาจะตัดสินใจแบบไหน
แล้วถ้าเราเป็นเขา เราจะตัดสินใจแบบเขาหรือเปล่า
ถ้าเรามีสภาพแวดล้อมแบบเขา เราจะตัดสินใจแบบเขาไหม
มองเขา จากมุมของเขา ไม่ใช่ จากมุมของเรา
เมื่อมองเขา ด้วยมุมมองของเขา อคติในใจเราจะลดลงไปในตัว เพราะเราจะเข้าใจมนุษย์มากขึ้นว่ามนุษย์นั้นรักสุข เกลียดทุกข์ มีรัก มีไม่รัก มีชอบ มีไม่ชอบ มีโกรธ มีไม่โกรธ มีหลง มีไม่หลง
เราเชื่อว่า เขาตัดสินใจเรื่องต่างๆ ตามสิ่งที่เขาคิดว่าดีที่สุดในสถานการณ์ของเขา ซึ่งไม่ต่างจากเรา
เราจะเข้าใจมนุษย์มากขึ้นในทุกมิติ และใช้ได้ในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การเรียน การทำงาน ด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ
และเราจะบ่นคนอื่นน้อยลงครับ
4. คุณจะคุ้นเคยกับความล้มเหลว
เพราะเราจะรู้สึกว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะล้มเหลว และเป็นหนึ่งในกระบวนการของ Design Thinking อยู่แล้ว ว่ามันต้องล้มเหลว ต้อง “Fail”
เพราะ Design Thinking มีขึ้นเพื่อให้ล้มเหลวอยู่แล้ว แต่ให้ล้มเหลวให้เร็ว (บนกระดาษ) และล้มเหลวให้ถูก (จ่ายแค่ค่ากระดาษ + ค่า workshop) ดีกว่าไปล้มเหลวตอนสร้างโรงงานแล้วขายไม่ออกแน่นอน
“Fail Fast, Fail Cheap” จึงเป็นหัวใจของ Design Thinking
และเราจะคุ้นเคยกับโปรเจคที่ล้มเหลวจนเห็นกันเป็นเรื่องธรรมดา
(แต่มันจะไม่ธรรมดา ถ้าหัวหน้าคุณไม่เห็นเหมือนคุณครับ ถถถ)
ปล. มีผู้อ่านถามว่า แมวเกี่ยวอะไรครับ คำตอบคือไม่เกี่ยวอะไรเลยครับ แต่ไหนๆ มีคนถาม เลยอยากชวนให้ลองไป empathy แมวกันดู เผื่อจะเข้าใจแมวกันมากขึ้น 😀
63636363636363636363636363
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านมากครับ เรื่อง Design Thinking เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องการสร้างคุณค่า หรือจะเรียกว่าการสร้างคุณค่าเป็นส่วนหนึ่งของ Design Thinking ก็ได้ เรื่อง Design Thinking ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกมาก ถ้าอยากอ่านเรื่องอื่นของ Value Proposition Design เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ รวมถึงเรื่อง ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และการออกแบบโมเดลธุรกิจ business model เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ
หากผู้อ่านอยากรู้เรื่อง Value Proposition Design แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ
บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์ การออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) สามารถอ่านเรื่องอื่นในซีรีย์เพิ่มเติมได้จาก Link
Value Proposition Design
Stakeholder Analysis Series
- Stakeholder Analysis คืออะไร
- Stakeholder Analysis 2: Stakeholder Matrix คืออะไร
- Stakeholder Analysis 3: กลยุทธ์ Stakeholder Matrix
- Stakeholder Analysis 4: Stakeholder Mapping คืออะไร
Value Proposition Design Series
- Value Proposition คืออะไร
- Value Proposition Design คืออะไร
- Value Curve คืออะไร
- Value Curve คืออะไร 2: การนำ Value Curve ไปใช้
- Value Curve คืออะไร 3: ERRC คืออะไร
- Pain Reliever คืออะไร
Value Fit Series
Job to be Done Series
- Job to Be Done คืออะไร
- Job to be Done คืออะไร ภาค 2
- Job to be Done Map คืออะไร
- งานด้านสังคม (Social Job) คืออะไร
- งานด้านอารมณ์ (Emotional Job) คืออะไร
- Pain Point คืออะไร
Experience Design Series
- การออกแบบประสบการณ์ (Experience Design) คืออะไร
- การออกแบบการบริการ (Service Design) คืออะไร
- เมื่อคุณมี Design Thinking Mindset
Value Proposition Design x Hot issues
- วิเคราะห์: การเลือกตั้ง 2566 ด้วย Political Value Proposition
- วิเคราะห์: ซื้อรถ EV ดีไหม ด้วย Value and Cost Analysis
- ซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) คืออะไร
Leave a Reply