หลังจากที่เราได้อ่านเรื่อง Stakeholder analysis คืออะไร ไปแล้ว วันนี้จะมาแนะนำให้รู้จักเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Stakeholders ที่ได้รับความนิยมกันคือ Stakeholder Matrix ว่าคืออะไร และมีขั้นตอนการทำอย่างไรครับ
1. Stakeholder Analysis คืออะไร
ทบทวนความทรงจำกันอีกรอบ Stakeholder Analysis คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์โครงการในปัจจุบัน หรือโครงการที่ต้องการทำใหม่ ว่า ใคร มีส่วนได้ และ มีส่วนเสียกับโครงการบ้าง
โดยโครงการ (Project) อาจเป็นโครงการพัฒนาเล็กๆ ในแผนก การพัฒนาองค์กร การพัฒนาสินค้าใหม่ให้ลูกค้า หรือการคิด Business Model ใหม่ก็ได้
Stakeholder อาจเป็นบุคคล เป็นกลุ่มคน องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ แต่ต้องเป็นการเน้นที่ “คน” ไม่ใช่ “เรื่องที่คนนั้นต้องการ”
ตัวอย่างเช่น เราวิเคราะห์ว่า หนึ่งใน Stakeholder ของเรา คือ รัฐบาล เพราะต้องการเก็บภาษีจากธุรกิจเรา เราจะเขียน Stakeholder ว่า “รัฐบาล” ไม่ใช่เขียน stakeholder ว่า “ภาษี” ครับ
2. ทำไมถึงควรทำ Stakeholder Analysis
Stakeholder Analysis เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เรารู้ว่า ธุรกิจของเราจะต้องคำนึงถึงใครบ้าง และ เขาเหล่านั้นต้องการอะไร หรือ มีประเด็นอะไรที่เราต้องคอยระวังบ้าง
หากเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ Stakeholder เลย ก็มีความเสี่ยง (สูง) ว่าโครงการจะล้มเหลวครับ
เพราะอะไร?
เพราะว่า Stakeholder ส่งผลสำคัญ ต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการได้ โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอำนาจ หรือ ผู้ที่มีผลกระทบโดยตรง ที่อาจจะได้รับผลกระทบด้านลบถ้าโครงการของเราเกิดขึ้น
ลองคิดง่ายๆ ว่าถ้าเราคิดโครงการลดแผนกบางแผนกในองค์กร แผนกที่จะโดนให้ออกย่อมไม่ยอมให้โครงการเกิดง่ายๆ แน่นอนครับ
ดังนั้น Stakeholder Analysis จึงช่วยให้เรารู้ว่า ใครบ้าง (ที่เราต้องแคร์)!
3. เครื่องมือการวิเคราะห์ Stakeholder
การวิเคราะห์ Stakeholder สามารถวิเคราะห์ได้หลายมุมมอง โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ คือ
- ระบุว่า Stakeholder มีใครบ้าง
- จัดประเภทของ Stakeholder
- จัดลำดับความสำคัญของ Stakeholder
โดยขั้นตอน
1. ระบุ stakeholder และ
2. การจัดประเภทของ Stakeholder
ผู้เขียนได้เล่าไปแล้วในบันทึกแรก (stakeholder analysis คืออะไร) ลองอ่านดูได้
คร่าวๆ โดยสรุป คือ พยายามระบุ Stakeholder ให้ได้เยอะที่สุด แล้วลองมาจัดประเภทของ Stakeholder (เช่น แบ่งเป็น Internal/External หรือ Primary/Secondary เป็นต้น)
ส่วนบันทึกนี้ จะมาเล่าขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดลำดับความสำคัญของ Stakeholder ครับ
4. การจัดลำดับความสำคัญของ Stakeholder
เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของ Stakeholder โดยใช้หลายปัจจัยพิจารณาได้ แต่ ปัจจัยที่ได้รับความนิยมในการจัดลำดับความสำคัญของ Stakeholder มี 2 ตัวหลัก คือ
- อำนาจ/อิทธิพลที่มีต่อโครงการ (Power / Influence)
- ความสนใจที่มีต่อโครงการ (Interest)
โดยแต่ละปัจจัยมีรายละเอียดดังนี้ครับ
4.1 จัดความสำคัญด้วยอำนาจ (Power/Influence)
Stakeholder บางกลุ่ม มีอำนาจ หรือ มีอิทธิพล ต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการมาก
เช่น ผู้จัดการโครงการ หัวหน้าฝ่ายหลักของโครงการ หรือบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบอกว่า “ทำต่อ” หรือ “เอ็งเลิกเถอะ ดูแล้วเจ๊งแน่” เป็นต้น
Stakeholder กลุ่มนี้มีอำนาจสูงครับ
ในขณะเดียวกัน Stakeholder บางกลุ่ม อาจมีอำนาจต่อโครงการไม่มาก เช่น พนักงานในโครงการ หรือ ชุมชน เป็นต้น
หรือ Stakeholder บางกลุ่มอาจมีอำนาจต่อโครงการการน้อย เช่น พนักงานแผนกอื่นๆ ในบริษัท
ถ้าเราแบ่ง Stakeholders ตามอำนาจ หรือ อิทธิพล ที่มีต่อโครงการ เราอาจแบ่ง Stakeholders ออกได้เป็น
- High Power Stakeholder อำนาจมาก
- Medium Power Stakeholder อำนาจปานกลาง
- Low Power Stakeholder อำนาจน้อย
หรือจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มก็ได้ครับ คือ
- High Power Stakeholder อำนาจมาก
- Low Power Stakeholder อำนาจน้อย
ตอนนี้ เราจัดกลุ่ม Stakeholders ออกเป็นกลุ่มได้คร่าวๆ แล้วครับ
4.2 จัดลำดับความสำคัญด้วยความสนใจ (Interest)
ถ้าเราแบ่ง Stakeholder โดยใช้ความสนใจกับโครงการเป็นเกณฑ์ เราจะแบ่งได้เป็น
กลุ่มที่สนใจมาก คือมีความเกี่ยวข้องกับโครงการสูง เป็นทีมงาน หรือคอยติดตามความคืบหน้าของโครงการทุกวัน
ไปจนถึง กลุ่มที่มีความสนใจน้อย แบบ อ่าว ไม่รู้มาก่อน ว่ามีโครงการอะไรแบบนี้อยู่ด้วย เป็นต้น
เราสามารถแบ่ง Stakeholder ตามความสนใจออกได้เป็น 3 กลุ่ม เช่นกัน คือ
- กลุ่มสนใจต่อโครงการมากๆ เช่น หัวหน้าโครงการ (ต้องดูแลโครงการให้สำเร็จ ไม่งั้นตรูซวย)
- กลุ่มสนใจกลางๆ เช่น ผู้ถือหุ้น (ไม่ได้มาดูแลโครงการอะไรใกล้ชิด แต่อย่าเจ๊งจนขาดทุนหุ้นตกก็พอ) , พนักงานในโปรเจค (ก็ไม่อย่างให้เจ๊ง แต่ถ้าเจ๊งก็หัวหน้ารับไปแล้วกัน 55)
- กลุ่มสนใจเบาๆ เช่น รัฐบาล (ดูคนเยอะแยะทั้งประเทศ ไม่มาสนใจโครงการยิบย่อยในบริษัทใดบริษัทหนึ่งอยู่แล้ว แต่อย่าลืมจ่ายภาษีด้วยแล้วกัน) คนนอกที่คอยติดตามเรื่ององค์กรเรา เป็นต้น
เช่นเดียวกันกับ Power/Influence factor ครับ เราสามารถจัดกลุ่มเป็น 2 กลุ่มก็ได้ (สนใจมาก/สนใจน้อย) ได้เช่นกัน
5. Stakeholder Matrix คืออะไร
เมื่อเรารู้จักปัจจัยที่ใช้จัดกลุ่ม Stakeholder แล้ว ถึงเวลามาทำความรู้จัก Stakeholder Matrix ว่าคืออะไร
Stakeholder Matrix คือ การนำปัจจัย 2 ปัจจัยข้างต้น คือ อำนาจ (Power/Influence) และ ความสนใจ (Interest) มาเขียนเป็นตาราง Matrix แบบ 2 x 2 หรือ 3 x 3
โดยให้แกนตั้งเป็นอำนาจ (Power) และ แกนนอนเป็นความสนใจ (Interest)
Stakeholder Matrix บางครั้ง จึงถูกเรียกว่า Interest/Influence Matrix หรือ Power/Interest Matrix ตามแกน 2 แกน แล้วแต่สะดวกว่าใช้คำไหน
ในบันทึกนี้จะใช้คำว่า Interest/Influence Matrix โดยเขียนแบบ 2 x 2 matrix เพื่อเป็นตัวอย่าง ดังนี้ครับ
จาก Stakeholder Matrix เราจัด Stakeholder ได้เป็น 4 กลุ่มตามช่อง คือ
- กลุ่ม Influence สูง และมี Interest สูง
- กลุ่ม Influence สูง แต่มี Interest ต่ำ
- กลุ่ม Influence ต่ำ แต่มี Interest สูง
- กลุ่ม Influence ต่ำ และมี Interest ต่ำ
6. ใส่ Stakeholder ลงใน Stakeholder Matrix
หลังจากเรามี Stakeholder Matrix แล้ว เราสามารถนำรายชื่อ Stakeholder ที่เราเคยเขียนไว้ มาใส่ลงในแต่ละช่องได้เลย โดยเราสามารถจัดกลุ่มตามความรู้สึกเลยก็ได้ ว่า Stakeholder กลุ่มนี้ มีอิทธิพลมากหรือน้อย หรือมีความสนใจในโครงการมากหรือน้อย
หรือเราจะทำเป็นระบบมากขึ้น โดยการให้คะแนน Stakeholder แต่ละคนเป็นคะแนนก็ได้ เช่น หัวหน้าโครงการ Influence = 10 Interest = 10 ผู้ถือหุ้นบริษัท Influence = 9 Interest = 4 ฯลฯ แล้วนำ Stakeholder ทั้งหมดไปใส่ใน Stakeholder Matrix ตามคะแนนที่ให้
9. เขียน Influence/Interest Matrix แล้วยังไงต่อ
หลังจากเราจัดกลุ่ม Stakeholder ให้เป็นกลุ่ม ตามอำนาจ (Power/Influence) และความสนใจ (Interest) แล้ว เราสามารถนำ Stakeholder Matrix ไปใช้ประโยชน์ได้อีกมาก โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) ครับ แนะนำให้อ่านบันทึก Stakeholder Analysis อย่างต่อเนื่องนะครับ
63636363636363636363636363
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านทุกคนมาก เรื่อง Stakeholder Analysis เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณค่า (Value Proposition Design) ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจกว่านี้อีกมาก เขียนในบันทึกนี้คงไม่พอ ถ้าสนใจจะมาเล่าต่อในบันทึกถัดไปนะครับ ถ้าอยากอ่านเรื่องอื่นเกี่ยวกับการสร้างคุณค่าและ Business Model รวมถึงเรื่อง Strategy เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ
หากผู้อ่านอยากรู้เรื่อง Stakeholder Analysis แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ
Value Proposition Design
Stakeholder Analysis Series
- Stakeholder Analysis คืออะไร
- Stakeholder Analysis 2: Stakeholder Matrix คืออะไร
- Stakeholder Analysis 3: กลยุทธ์ Stakeholder Matrix
- Stakeholder Analysis 4: Stakeholder Mapping คืออะไร
Value Proposition Design Series
- Value Proposition คืออะไร
- Value Proposition Design คืออะไร
- Value Curve คืออะไร
- Value Curve คืออะไร 2: การนำ Value Curve ไปใช้
- Value Curve คืออะไร 3: ERRC คืออะไร
- Pain Reliever คืออะไร
Value Fit Series
Job to be Done Series
- Job to Be Done คืออะไร
- Job to be Done คืออะไร ภาค 2
- Job to be Done Map คืออะไร
- งานด้านสังคม (Social Job) คืออะไร
- งานด้านอารมณ์ (Emotional Job) คืออะไร
- Pain Point คืออะไร
Experience Design Series
- การออกแบบประสบการณ์ (Experience Design) คืออะไร
- การออกแบบการบริการ (Service Design) คืออะไร
- เมื่อคุณมี Design Thinking Mindset
Value Proposition Design x Hot issues
- วิเคราะห์: การเลือกตั้ง 2566 ด้วย Political Value Proposition
- วิเคราะห์: ซื้อรถ EV ดีไหม ด้วย Value and Cost Analysis
- ซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) คืออะไร
Leave a Reply