หลังจากที่เขียนเรื่องการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของ Value Proposition Design มาหลายตอน (แนะนำให้อ่าน Stakeholder Analysis คืออะไร) วันนี้มาแนะนำให้รู้จักเครื่องมือในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียที่ชื่อว่า Stakeholder Mapping หรือแผนภาพผู้มีส่วนได้เสีย ว่าคืออะไรครับ
1. Stakeholder Mapping คืออะไร
Stakeholder Mapping คือการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อจัดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกลุ่ม โดยมากมักใช้ภาพประกอบแทนตัวหนังสือ เพื่อให้ผู้วิเคราะห์เห็นภาพ Stakeholder ได้ง่ายขึ้น
โดยผู้วิเคราะห์สามารถเลือกใช้แผนภาพได้หลากหลาย ตามแนวทางการวิเคราะห์ Stakeholder ครับ
2. Stakeholder Mapping มีกี่แบบ
Stakeholder Mapping มีได้หลายแบบ ตามแนวการวิเคราะห์ของแต่ละคนได้เลยครับ
เช่น ถ้าเราต้องการแบ่ง Stakeholder ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภายใน (Internal) กับภายนอก (External) ก็ได้
หรือ แบ่ง Stakeholder ให้ละเอียดขึ้นเป็น 4 กลุ่ม คือ ลูกค้า (Super Stakeholder), Internal Stakeholder, External Stakeholder, Public Stakeholder ก็ได้
หรือแบ่ง Stakeholder ออกตามกลุ่มของผู้เกี่ยวข้องหลัก และ ผู้เกี่ยวข้องย่อยก็ได้ เช่น กลุ่มผู้บริหาร แล้วไปแยกอีกที่ว่า กลุ่มผู้บริหารแบ่งออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย คือ ผู้บริหารระดับสูงในองค์กร, กรรมการบริษัท, ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น
นอกจากนี้ เราสามารถแบ่งกลุ่ม Stakeholder ตาม Influence/Interest Matrix (อ่าน Stakeholder Matrix คืออะไร) ก็ได้เช่นกัน
จะเห็นว่า Stakeholder Mapping คือการนำ Stakeholder มาจัดกลุ่มก่อน หลังจากนั้น ก็นำมาเขียนเป็นภาพ เพื่อให้ง่ายก็การนำไปวิเคราะห์นั่นเอง ดังนั้น Stakeholder Mapping จึงมีได้หลายแบบมาก แต่แนวทางหลักที่ได้รับความนิยมและใช้กันในแวดวงธุรกิจมี 2 แนวทาง คือ
แบบ Internal / External Stakeholder
เราจะได้ Stakeholder Mapping หน้าตาแบบนี้
แบบ Stakeholder Matrix (Influence/Interest)
จะได้ Stakeholder Mapping หน้าตาแบบนี้
3. ขั้นตอนการทำ Stakeholder Mapping
การทำ Stakeholder Mapping มีขั้นตอนหลัก ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : เขียน Stakeholder ให้ได้เยอะที่สุด
สมาชิกในทีมช่วยกันระดมสมอง (brainstorm) เพื่อคิดถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางดี (ผู้มีส่วนได้) และทางร้าย (ผู้มีส่วนเสีย) กับโครงการที่กำลังศึกษาให้ได้มากที่สุด
ในขั้นนี้ ยังไม่ต้องพิจารณาถึงเรื่องอื่นๆ (เช่น ยังไม่ต้องพิจารณาว่าเป็น Stakeholder ประเภทไหน) โดยจะใส่เป็นกลุ่ม (เช่น Supplier) หรือ เป็นชื่อ (คุณสมศักดิ์ที่ส่งปลาให้เรา) เป็นองค์กร (บริษัท xx) อะไรก็ได้ที่ถนัดครับ จะซ้ำก็ได้ ทับซ้อนก็ได้ เพราะเดี๋ยวเราจะมาจัดกลุ่มอีกที ในขั้นตอนถัดไป ตอนนี้ขอให้เขียนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เยอะที่สุดไว้ก่อน
ขั้นต่ำๆ ควรมีผู้เกี่ยวข้องมากกว่า 10 คน/กลุ่มนะครับ เพราะโดยธรรมชาติของโครงการ จะมีผู้เกี่ยวข้องเยอะอยู่แล้ว แต่เรามักนึกไม่ออก โดยเฉพาะกลุ่ม External และ Public Stakeholder
ถ้าเขียนบน post-it ได้จะดีมาก เพราะนำไปแปะใส่ Stakeholder Mapping ได้เลย ถ้าไม่มีก็จดบนกระดาษได้ครับ
ขั้นตอนที่ 2 : จัดกลุ่ม Stakeholder (Stakeholder Categorization)
หลังจากเราได้ Stakeholders จำนวนมากมาแล้ว ในขั้นนี้ เราจะเลือกว่าเราจะจัดกลุ่ม Stakeholder อย่างไร (แบบ Internal/External หรือแบบ Matrix) โดยจัดเอา post-it กลุ่มเดียวกัน มาไว้ด้วยกันก็ได้ เช่น นี่เป็นกลุ่มลูกค้า นี่เป็นกลุ่ม Supplier นี่เป็นกลุ่มผู้บริหาร อะไรที่ซ้ำกันก็รวมกันได้
โดยปกติ สำหรับขั้นตอนนี้ เราจะเขียน Stakeholder เป็นชื่อกลุ่มไว้ก่อน โดยยังไม่ต้องระบุชื่อบุคคล (เช่น supplier, พนักงานในแผนก ฯลฯ) แต่ถ้าขั้นตอนแรกเขียนเป็นชื่อมาแล้วก็ไม่เป็นไรครับ เอามา group รวมกันได้
หรือ ถ้าคนนั้นเป็นกลุ่มพิเศษ ก็ตั้งเป็นกลุ่ม Stakeholder เฉพาะเลยก็ได้ เช่น supplier มี 2 กลุ่ม คือ supplier ทั่วไป และ คุณสมศักดิ์คนส่งปลา (เนื่องจากแกเรื่องมากเป็นพิเศษแตกต่างจาก supplier ทั่วไป ถึงขั้นต้องตั้งกลุ่มพิเศษให้แก เป็นต้น)
ขั้นตอนที่ 3 : จัดลำดับความสำคัญของ Stakeholder (Stakeholder Prioritization)
หลังจากจัดกลุ่ม Stakeholder เสร็จแล้ว ขั้นตอนถัดไป เราจัดลำดับความสำคัญ โดยให้เลือกเกณฑ์ก่อนว่าจะจัดลำดับความสำคัญจากอะไร
เช่น ใช้ Power เพื่อดูว่าใครมีอำนาจต่อความเป็นไปมากที่สุด
หรือใช้ Interest เพื่อดูว่าใครมีความสนใจกับโครงการมากที่สุด
ไล่เรียงไปเรื่อยๆ
สิ่งที่ได้ในขั้นตอนนี้ เราสามารถนำไปใช้ทำ Stakeholder Matrix ได้เลยนั่นเอง
4. ประโยชน์ของ Stakeholder Mapping
หลังจากเราเขียน Stakeholder Mapping เสร็จแล้ว เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมายครับ โดยเฉพาะหากเขียน Stakeholder Mapping แบบ Stakeholder Matrix (อ่าน กลยุทธ์ Stakeholder Matrix)
นอกจากนี้ Stakeholder Mapping ยังช่วยให้
- เจ้าของโครงการ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียได้ครบทุกคน ทุกด้าน
- รู้ว่าใครมี Influence สูงสุด
- รู้ว่าควรจะฟังใครก่อน ใครหลัง
- รู้ว่า เราควรทำ Project เพื่อให้ใครได้ประโยชน์สูงสุด
- มีแผนการจัดการในระยะสั้น กลาง ยาว สำหรับแต่ละ Stakeholder ที่ชัดเจน
- ฯลฯ
ที่สำคัญ คือ เราสามารถนำ Stakeholder Mapping ไปใช้ในการสร้างคุณค่าให้กับ Stakeholder แต่ละกลุ่ม เรียกว่า Stakeholder Value Proposition นั่นเองครับ ไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
63636363636363636363636363
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านมากครับ เรื่อง Stakeholder Analysis เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณค่า (Value Proposition Design) ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจกว่านี้อีกมาก ถ้าอยากอ่านเรื่องอื่นเกี่ยวกับการสร้างคุณค่าและ Business Model รวมถึงเรื่อง Strategy เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ
หากผู้อ่านอยากรู้เรื่อง Stakeholder Analysis แบบลึกซึ้ง สามารถติดต่อผู้เขียนเรื่องฝึกอบรมหรือการทำ workshop ได้ โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อผู้เขียนได้ที่ About ครับ
บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์ การออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) สามารถอ่านเรื่องอื่นในซีรีย์เพิ่มเติมได้จาก Link
Value Proposition Design
Stakeholder Analysis Series
- Stakeholder Analysis คืออะไร
- Stakeholder Analysis 2: Stakeholder Matrix คืออะไร
- Stakeholder Analysis 3: กลยุทธ์ Stakeholder Matrix
- Stakeholder Analysis 4: Stakeholder Mapping คืออะไร
Value Proposition Design Series
- Value Proposition คืออะไร
- Value Proposition Design คืออะไร
- Value Curve คืออะไร
- Value Curve คืออะไร 2: การนำ Value Curve ไปใช้
- Value Curve คืออะไร 3: ERRC คืออะไร
- Pain Reliever คืออะไร
Value Fit Series
Job to be Done Series
- Job to Be Done คืออะไร
- Job to be Done คืออะไร ภาค 2
- Job to be Done Map คืออะไร
- งานด้านสังคม (Social Job) คืออะไร
- งานด้านอารมณ์ (Emotional Job) คืออะไร
- Pain Point คืออะไร
Experience Design Series
- การออกแบบประสบการณ์ (Experience Design) คืออะไร
- การออกแบบการบริการ (Service Design) คืออะไร
- เมื่อคุณมี Design Thinking Mindset
Value Proposition Design x Hot issues
- วิเคราะห์: การเลือกตั้ง 2566 ด้วย Political Value Proposition
- วิเคราะห์: ซื้อรถ EV ดีไหม ด้วย Value and Cost Analysis
- ซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) คืออะไร
Leave a Reply